ในช่วงที่การเมืองคุกรุ่นหนักมาก มีกระแสบีบบังคับให้ Influencer, ดารา, นักร้องให้พูดถึงเรื่องการเมือง ซึ่งในตอนนี้ ก็ผ่านช่วง Call Out มาแล้ว แต่สิ่งที่ผมสังเกต (และเพื่อนผมตั้งคำถาม) คือ ทำไมบางคนใน Instagram ไม่ Call Out อะไรเลย ทั้ง ๆ มีผู้ติดตามเป็นหมื่นเป็นแสน
เรื่องนี้ ผมลองคุยเล่นกับเพื่อน ๆ และความคิดเห็นทั้งของผมและเพื่อนก็น่าสนใจ มาอ่านกันครับ
คนที่ยอด Follower เยอะ ไม่ได้หมายความว่าเป็นบุคคลสาธารณะทุกคน

ในปัจจุบัน มีบางคนตีความคำว่า “บุคคลสาธารณะ” ไม่ถูกต้อง ซึ่งถ้าตีความหมายจริง ๆ จะพบว่า บุคคลสาธารณะ คือบุคคลที่ทำอาชีพที่พบเจอกับผู้คนแบบสาธารณะ หรือผลิตสื่อเพื่อให้ใครหลาย ๆ คนได้ชม เช่น นักร้อง ดารา นักแสดง ผู้ประกาศข่าว นักการเมือง นักแสดงตลก ฯลฯ ซึ่งบางคนตีความคำว่าบุคคลสาธารณะว่าต้องมียอด Follower เยอะ ๆ อย่างเดียว
สาเหตุมาจาก คนที่มียอดติดตามเยอะ เพราะมีเพจที่แนะนำ IG เด็ด ๆ ต่างโปรโมทกันเอง แนะนำ IG หล่อสวยอะไรก็ว่ากันไป แล้วพอไปเช็คดู ยอดติดตาม IG เป็นหมื่น แต่เค้าเป็นนักศึกษา หรือนางแบบ หรือก็แค่นักบัญชี หรือเจ้าของกิจการที่ไม่ได้ประกาศตัวเองว่าเป็นบุคคลสาธารณะอย่างเป็นทางการ ซึ่งคนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเลือกแชร์สิ่งที่ตัวเองคิดว่าดี และต้นเหตุที่แชร์คือ เค้ามีความสุขที่ได้ทำ
ด้วยแนวคิดแบบนี้ ไม่แปลกใจที่ทำไมในโลกของ Instagram บางคนถึงโพสต์แต่เรื่องราวความสุขของตัวเอง หรือโปรโมทงานของตัวเองที่ทำ แต่ไม่ได้สนใจเรื่องราวของคนอื่น
และสิ่งที่ User IG กลุ่มนี้ทำ ก็ไม่ผิด มันคือพื้นที่ของเค้า แต่การมาเรียกให้คนนู้นคนนี้มา Call Out อาจจะเป็นการรุกล้ำพื้นที่ของเค้า และกลายเป็นว่า เราเสร่อเอง
สปอนเซอร์ที่ดีลด้วย อาจจะถอน
หนึ่งในปัญหาหลักที่ดาราบางกลุ่มไม่ Call Out เพราะในประเทศไทย ดาราเปรียบเสมือนเครื่องมือ PR ของกลุ่มนายทุน และการเข้ามาเป็นดาราในประเทศไทยในบางค่ายมีการใช้เส้นสาย แม้ว่าในปัจจุบันการเข้าเป็นดาราจะไม่ได้ใช้เส้นสายเหมือนเมื่อก่อน แต่ดารากลุ่มที่เป็นเครื่องมือให้กับนายทุนก็ต้องไม่แตะเรื่องความขัดแย้งหรือเรื่องทางการเมือง
ไม่ใช่แค่ดาราเท่านั้น รวมไปถึง IG ที่มียอดผู้ติดตามหลักหมื่นเป็นต้นไปที่ต้องการทำงานร่วมกับนายทุนในฐานะ Creator, Influencer จำเป็นต้องทำงานร่วมกับสปอนเซอร์ ซึ่งเป็นรายได้หลัก และด้วยเป้าหมายของชีวิตคนไทยในกลุ่มคนระดับล่าง, กลางที่ต้องการชีวิตที่ดีขึ้น มี Connection วงในที่ทำให้ชีวิตดีขึ้นกว่าเดิม จำเป็นต้องทำงานกับคนกลุ่มนี้
ไม่มีความรู้ทางการเมืองตั้งแต่แรก

ในประเทศไทย คน Gen Y ลงมาถูกปลูกฝังในเรื่องสถาบันครอบครัว, การศึกษาที่คนอายุน้อยตัองเชื่อฟังผู้ใหญ่ และไม่ฝึกการคิดแบบ Critical Thinking ทำให้ในช่วงที่ผมเรียนจะเกิดปัญหา “เงียบ” เวลาอาจารย์ถามว่า “มีใครสงสัยอะไรบ้างไหม” ท้าย Class
และยิ่งเรื่องการเมือง พ่อแม่จะสอนลูกสอนหลานให้เงียบเรื่องนี้ และให้ใช้ชีวิตตามกรอบที่ผู้ใหญ่วางเอาไว้ เช่น เรียนให้จบปริญญาตรี แล้วหางานทำในบริษัทดี ๆ เชิดชูคนที่เก่ง (แต่เรื่องความฉลาดในความเป็นมนุษย์ ช่างมัน)
ซึ่งถ้าสังเกตดี ๆ จะพบว่า สังคมไทยที่ผ่านมา (รวมถึงในปัจจุบัน) จะให้โฟกัสเรื่อง “ตัวเอง ตัวเอง ตัวเอง แล้วก็ตัวเอง”
ในโลกออนไลน์มักจะมีบทความเกี่ยวกับ “ตัวเอง” เยอะมาก ทั้งพวกคำคม รวมไปถึงคำบ่น (พวกประโยคไม่กี่คำตามเพจตัวเลขเว้นวรรค เช่น 1 9 9 x อะไรพวกนี้) ที่ชอบพูดตามอารมณ์และมุ่งไปที่ “ตัวเอง” เป็นหลัก ถ้านึกไม่ออก ลองนึกพวกคำ “ทุกอย่างเริ่มที่ตัวเอง” ดูครับ แล้วจะร้องอ๋อทันที
แต่สิ่งที่หลงลืมไปในสังคมไทยในยุคก่อนโลกออนไลน์ คือ สื่อ สังคม ไม่ได้ให้ความสำคัญในเรื่องการเมือง ผู้คน ประชาชน คนอื่นมากนัก ไม่เหมือนยุคนี้ที่เรื่องราวด้านการเมืองสามารถหาชม หาฟังได้ในหลาย ๆ สื่อ ในยุคก่อนผมยอมรับว่า ไม่ได้สนใจเรื่องการเมืองเลย อะไรดีก็บอกว่าดี ซึ่งเหตุผลเพราะผู้มีอำนาจต้องการให้ประชาชนทั่วไปไม่ให้คิดถึงเรื่องนี้ และคนเป็นนักการเมืองจะถูกตีตราว่า เป็นคนเลว กินบ้านกินเมือง ผ่านมากี่สมัยก็เหมือนเดิม
อยู่ในสังคมที่ดี แต่ไม่ได้มองสังคมอื่น ๆ ที่เดินทางคู่ขนาน
ถ้าพูดกันตามตรง คนติดตามเยอะ ๆ ใน Instagram ส่วนใหญ่ล้วนเป็นคนในครอบครัวที่มีเงินมากพอจะเข้าไปในสังคมระดับบน ๆ ที่มี Connection ต่าง ๆ ให้ตัวเองเติบโตมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และไม่แปลกที่เค้าจะแชร์ไลฟ์สไตล์ดี ๆ ได้แทบจะทุกวัน
จนมองไม่เห็นอีกสังคมที่ดูแล้วเป็นความขัดแย้ง มีปัญหา ไม่ใช่ความสุข
แต่ถ้าการเมืองไม่ดีจนกระทบกับชีวิตของตัวเอง วันนั้นเริ่มจะเอะใจและเริ่มจะเปลี่ยนความคิด แต่ในมุมมองของคนรักประชาธิปไตยกลับมองว่า “เธอมาช้าไป”
แต่จะโทษเค้าไม่ได้ 100% ปัญหาหลัก ๆ ย้อนกลับไปอ่านหัวข้อที่แล้วอีกที
Instagram เป็น Social Media สาย Lifestyle ไม่ใช่ Social Media สายการพูดคุยประเด็นต่าง ๆ

เอาจริง ๆ Instagram ในยุคปัจจุบันเป็น Social Media ที่บ่งบอกความเป็นตัวเองในแง่ Visual (ภาพลักษณ์ภายนอก) คนสนใจพวกความคิดเห็นอะไรต่าง ๆ ผ่าน Platform นี้น้อยมาก ๆ (เว้นแต่ว่าจะเป็นคนดังจริง ๆ) และในสังคมของ Social Media อันนี้คือ เน้นการแสดงตัวตนของตัวเองอย่างเต็มที่ และต้อง based on ความสุขของตัวเอง
เมื่อสนใจแต่ความสุขด้วยตนเอง หรือความสุขในการหาด้วยตนเอง แต่ไม่ได้สนใจคนอื่น ไม่แปลกที่โลกของ Instagram จะดูสวยสดงดงามเกินความจริง และเหมือนเป็นเป้าหมายของความสุขตามมายาคติ และเมื่อมีการแชร์เกี่ยวกับความคิดเห็นทางการเมือง ก็จะแชร์จากโพสต์ของคนอื่นอีกที ไม่ได้สร้างขึ้นมาเอง ความจริงแล้ว เราสามารถแชร์จาก Twitter มายัง Instagram ได้ แต่คนส่วนใหญ่เลือกจะแชร์จาก IG ของคนอื่นอีกที
นั่นหมายความว่า คนเล่น IG เค้าเล่นแต่ IG เท่านั้น และทำให้ความสนใจ หรือการรับรู้เรื่องราวในโลกออนไลน์มันแคบ
คนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นคนแบบ Extrovert
ความจริงคือ ชาว Extrovert ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการใช้ Social Media มากนัก ถ้าจะใช้ ใช้เฉพาะแชทกับคุยเฉพาะกลุ่มเพื่อนที่รู้จักกันเท่านั้น คนกลุ่มนี้ให้ความสำคัญกับเพื่อนในโลกความจริงที่เจอหน้ากันจริง ๆ มากกว่า เพราะการเจอหน้ากันจริง ๆ จะมี movement ที่ละเอียดอ่อน ไม่เหมือนในโลกออนไลน์ที่ต่อให้เต้น ๆ มัน ๆ ใน Tiktok หรือ Reel ก็ไม่เท่าเจอหน้ากันจริง ๆ
เพราะในความคิดของคน Extrovert Social Media เป็นเครื่องมือสื่อสาร ไม่ได้ใช้ชีวิตใน Social Media มากนัก
ส่วนการโพสต์ในโลกออนไลน์ โพสต์เพื่อบอกว่า นี่คือตัวเราในสภาวะที่พร้อมนะ
ข้อแนะนำ: ถ้าเค้าไม่ Call Out อย่าบังคับให้เค้า Call Out
ตรงกันข้าม ไปสนับสนุนคนที่ออกมา Call Out จะดีกว่า
อย่างที่ผมบอกไปแต่แรก คนกลุ่มนี้เดิมทีเค้าไม่ได้เป็นบุคคลสาธารณะตั้งแต่แรกอยู่แล้ว การมาบังคับให้ Call Out อาจจะเสี่ยงต่อการละเมิดตัวบุคคลก็เป็นได้ ที่ทำได้ที่สุด คือ Unfollow เค้าไป
แต่สำหรับผม ผมก็ยัง Follow ต่อ แต่มุมมองในการติดตามคนกลุ่มนี้เปลี่ยนไป กลายเป็นว่า คิดว่าวันนี้เค้าจะโชว์อะไรต่อ อยากรู้ว่าชีวิตตอนนี้เป็นยังไง ข้อดีของการดูชีวิตของคนใน Instagram คือ เราจะได้รู้ว่าโลกไปถึงไหนแล้ว
Leave a Reply