เคยสงสัยบ้างไหมว่า เดี๋ยวนี้ คนรุ่นใหม่เค้ารับสื่อจากทางไหนกัน นับตั้งแต่มีรัฐบาลทหารมา ดูเหมือนสื่อหลักในประเทศไทยบางช่องนำเสนอสื่อที่ไม่ตรงจริตกับผู้เสพข่าวอย่างที่ควรเป็น แต่การเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่มีไม่จำกัด และการดูถูกคนรุ่นใหม่ว่า ไม่สนใจอ่านหนังสือ ไม่ฉลาดจากคนรุ่นก่อน ๆ ที่มองแค่ผิวเผิน คือแรงผลักดันให้คนรุ่นใหม่แสวงหาความรู้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด และการเรียนรู้ในปัจจุบัน รวมถึงสื่อในยุคนี้เข้าสู่ยุคแห่งการกระจายอำนาจ (Decentralized) อย่างแท้จริง
ทำให้คนยุคใหม่หลาย ๆ คนเริ่มเลิกดูข่าวจากสื่อหลักกันมากขึ้น และในปัจจุบันกระแสสังคมที่โฟกัสที่ความสนใจและความชอบของตัวเองมากขึ้น และข่าวจากสื่อหลักก็ไม่ได้หลากหลายขนาดนั้น ทำให้ต่างคน เลือกดูข่าวจากสื่อทางเลือก หรือไม่ก็ข่าวจากสื่อใต้ดิน ที่ไม่รู้ว่า สื่อนั้นมีการกลั่นกรองความจริง หรือมีจรรยาบรรณของสื่อมากเพียงใด
วันนี้เรามาพูดคุยเรื่องนี้กันครับ
ไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ที่เปลี่ยนไป เน้นแบบ On-demand

ตั้งแต่ที่ YouTube เข้ามาในโลกออนไลน์ ทำให้พฤติกรรมการเสพดูคลิปของคนเปลี่ยนไป ก่อนหน้านั้น ช่อง 3 จะมีรายการ Real TV ซึ่งเป็นรายการนำคลิปเหตุการณ์จริงในอเมริกามาฉายให้คนได้ดูกัน ซึ่งแต่ละคลิปเป็นคลิปที่ดูแล้วน่าติดตามมาก แต่ในปัจจุบัน คลิปแบบ Real TV หาดูได้ตามอินเตอร์เน็ต ไม่ใช่แค่ใน YouTube แต่เป็น Facebook เพราะผู้คนต่างมีมือถือที่บันทึกวีดีโออัดคลิปแล้วส่งเข้า Social Media ที่ใช้
และการมาของสื่อ Social Media ที่ปัจจุบันกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตหลายคนไปแล้ว ไม่สามารถทิ้งมันได้ ซึ่งมาพร้อมกับ Content ที่มากมายมหาศาล ทำให้แต่ละ Social Media มีตัวเลือกให้เรากดติดตามแต่ละคนได้ไม่ยาก และการเลือกติดตามคนแต่ละคน หรือช่องแต่ละช่อง นั่นคือ หนึ่งในพฤติกรรมแบบ On-Demand แล้วครับ
อำนาจในการเสพสื่อของคนทั่วไปในยุคนี้ มีมากกว่าแต่ก่อนมาก เพราะเราสามารถเลือกดูช่องไหนก็ได้ตามใจชอบ และสื่อทางเลือกอย่าง Content Creator หลาย ๆ เจ้าที่อยากจะแชร์เรื่องราวต่าง ๆ เช่น รีวิวสินค้าต่าง ๆ ฃ
ผมยกตัวอย่างกรณีที่ผมจะซื้อ iPhone 12 ครับ ก่อนหน้านั้น ผมจะเลือกซื้อมือถือ iPhone 12 Mini แล้ว เพราะเห็นมันเล็กดี และตอนที่ไปลองเล่นตามร้านต่าง ๆ มันก็เข้ามือ นึกถึง iPhone 8 หรือ iPhone SE ที่ขนาดประมาณนี้ ซึ่งเป็นขนาดที่กำลังดี เหมาะมือ แต่ปัญหาอยู่ที่ Feature การถ่ายไฟล์ Raw, LiDAR Scanner และการถ่ายภาพที่เห็นแล้ว สามารถทดแทนเลนส์กล้องฝั่ง Wide ไปได้เลย ผมเลยเลือก iPhone 12 Pro ในที่สุด
และตอนที่ผมดูรีวิว มีรีวิวหลายเจ้าให้ดูมากกกกกกก และผู้ที่แนะนำให้ดูรีวิวหลาย ๆ เจ้า ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน YouTube นั่นแหละ เพราะก่อนหน้านั้น ผมดูรีวิวของ LDA ไปแล้ว และตัดสินใจได้ พอปิดคอม แล้วเปิด YouTube อีกที ปรากฎว่า รีวิว iPhone 12, 12 Pro ของ Gu Zap, Stepgeek และช่องอื่น ๆ ผุดขึ้นอย่างกะดอกเห็ดในหน้าแรก แล้วเราก็เผลอเข้าไปดู ทำให้เรารู้มุมมองการใช้งานในหลายส่วนว่าข้อดีข้อเสียเป็นอย่างไร ซึ่งแน่นอนว่า การเสพสื่อในยุคนี้ มันไม่ใช่แค่ความสนใจของเราเพียงอย่างเดียว ยังมี Algorithm ของ Social Media ที่เราเข้าไปดูด้วยว่า เราดูอะไรไปก่อนแล้ว แล้วจะให้เราดูซ้ำ ๆ เหมือนกับว่า เรากำลังสนใจสิ่งนั้นอยู่
ซึ่งตรงนี้ ช่อง Free TV ไม่มีให้
หรือแม้แต่ข่าวใน Twitter บางวันขึ้นเทรนด์หวีดไอดอลบชาย ผมก็ไม่เข้าไปดู แต่ถ้าเป็นเรื่องการเมืองทีไร ผมจะเข้าไปดูทันที ซึ่งเทรนด์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันก็ไม่เหมือนกัน
ตรงนี้คือ อำนาจในการเลือกเสพสื่อของแต่ละคนมีสูงจริง ๆ สูงจน
การรับข่าวสารของคนรุ่นใหม่ไม่ได้รับแล้วเชื่อทันที

นี่เป็นอีกสาเหตุที่คนยุค Baby Boomer หรือคน Gen X ที่เพิ่งมาเล่น Social Media ใหม่ ๆ รวมถึงพวก LINE มักโดนคนรุ่นใหม่ดูถูกประจำ หาว่าคนรุ่นเก่าไม่ทันโลกบ้าง คนรุ่นเก่าเป็นสลิ่มบ้างอะไรบ้าง หรือบางทีคนรุ่นใหม่ก็ล้อเลียนคนรุ่นเก่าด้วย meme สวัสดีวันจันทร์ สวัสดีวันอังคาร…
แต่การจะว่าคนแก่ ๆ เหล่านี้ก็ต้องดูเหตุผลพฤติกรรมของคนยุคเก่า ๆ ด้วยว่าเค้าเติบโตมาจากอะไร
พ่อของผมเคยเล่าว่า กว่าจะเสพสื่อได้ในตอนเด็ก ๆ ด้วยความที่ฐานะของพ่อยากจน ทำให้การดูการ์ตูน หรือพวกซีรีส์เซนไต (ขบวนการ 5 สี) ต้องไปแอบดูที่บ้านของคนมีฐานะในตอนนั้นตลอด หรือบางที ไปอ่านหนังสือพิมพ์ตามร้านก๋วยเตี๋ยว ส่วนเรื่องห้องสมุดประจำโรงเรียน ยุคนั้นยังไม่มีเลยด้วยซ้ำ ต่อให้เป็นห้องสมุดที่ว่ากันว่าจะสร้างความฉลาดให้กับนักเรียน ก็ใช่ว่าจะทำให้ฉลาดไปได้ตลอด ถ้าในห้องสมุดนั้นไม่มีการอัพเดทองค์ความรู้ใด ๆ ใหม่ ๆ
ซึ่งถ้าสังเกตให้ดี ๆ จะพบว่า การเสพสื่อของคนในยุคก่อน ๆ จะเสพสื่อทางเดียว ไม่มีการกระจายอำนาจ การเข้าถึงสื่อก็ยากมาก คนเห็นแล้วเชื่อสื่อที่นำเสนอทันที และมันเป็นแบบนี้เรื่อย ๆ จนยุคที่มี Social Media ก็เพิ่งจะมาไม่กี่ 10 ปีนี้เอง
สมมติคน Baby Boomer เกิดปี 1960 แล้วเพิ่งมาเล่น Facebook ปี 2010 คือเค้าเสพสื่อทางเดียวมาโดยตลอดกว่า 50 ปี พอมาเสพสื่อในยุคนี้อาจจะงง ๆ ไปบ้าง และสุดท้าย คนหลายคนที่เติบโตมากับยุคนี้มองว่า พวกเพจ Facebook หรือช่อง YouTube ต่าง ๆ เค้าเรียนจบนิเทศศาสตร์ ม. ดังมาหรือเปล่า เค้ามีใบประกอบวิชาชีพสื่อหรือเปล่าถึงมาทำสื่อได้ ฯลฯ
แต่คนยุคใหม่ เค้าก็เข้าใจว่า ปัญหาเรื่องสื่อที่บิดเบือนมีแน่นอน ดังนั้น พฤติกรรมของการเสพสื่อของคนยุคใหม่ คือ ไม่ใช่ดูข่าวจากแหล่งนี้ทั้นที หรือดูรีวิวจากเจ้านี้แล้วเชื่อ แต่เค้าจะดูจากหลาย ๆ สื่อ ถ้าเกิดว่า เราเป็นช่างภาพ อยากเห็นความคิดเห็นการใช้ iPhone 12 Pro ในมุมมองของช่างภาพ อยากรู้ว่า Apple ProRAW มันใช้งานได้ดีจริงไหม ก็ต้องหาดูคลิป Review iPhone 12 Pro ในมุมมองของช่างภาพ บางที ช่องรีวิวมือถือเค้าอาจจะมีรสนิยมแตกต่างจากช่างภาพจริง ๆ
และไม่ใช่แค่ดูคลิปหลาย ๆ คลิป ยังรวมถึงการดู Comment ใต้คลิปด้วย และเท่าที่สังเกตมา Comment ที่มีคุณภาพ มักจะอยู่กับช่องที่ทำคลิปให้ความรู้ มีสาระครับ ซึ่งบาง Comment ก็มีประโยชน์ แต่สุดท้าย เราก็ไม่ได้เชื่อซะทีเดียว ซึ่งวิธีที่ให้เราเชื่อจริง ๆ คือ ทดสอบใช้งานจริง ๆ ด้วยสินค้าตัวอย่างตามร้านไปเลย แล้วเราก็ตัดสินใจซื้อสินค้าเหล่านี้ได้
เห็นไหมว่า การรับสื่อของคนรุ่นใหม่ ไม่ได้เชื่อทางเดียวเท่านั้น ยังต้องหาแหล่งข้อมูลอื่น ๆ เข้ามาสนับสนุนให้เกิดความเชื่อขึ้น หรือถ้าเราทำ Content อะไรแล้วมันเท็จ หรือบางอย่างมันตกขาดหายไป ก็จะมีคนเสริม หรือมีคนแย้งตามช่อง Comment และการปิด Comment ก็ใช่ว่าจะเป็นปิดกั้นทางความคิด ใน Facebook ถ้าอยากแสดงความคิดเห็น ก็กดปุ่มแชร์โพสต์นั้นแล้ว Comment ในพื้นที่ของเราต่อไป เอาง่าย ๆ คือ คนอยากจะแสดงความคิดเห็น เค้าก็หาทางจนได้
หรือแม้แต่การทำบทความนี้ ก็เป็นหนึ่งในวิธีแสดงความคิดเห็น ในพื้นที่ของตัวเอง
แล้วคราวนี้มาดูข่าวจากสื่อหลักบ้าง ถ้าดูทีวี อย่างมาก เวลาเราแสดงความคิดเห็น อาจจะแสดงกับพ่อแม่ที่ดูข่าวนั้น แต่มันไม่กระจายผ่านทางทั่วโลกออนไลน์ มันไม่มันส์ไง ต่อให้เราแย้งข่าว คนที่เห็นก็มีแต่คนในบ้านหรือในห้องที่ดูด้วย ก็แค่นั้น ถ้าอยากจะแสดงความคิดเห็นจากการดูข่าวผ่านทางทีวี คือถ่ายภาพจากหน้าจอทีวี แล้วอัพขึ้น Social Media แล้วแสดงความคิดเห็นอะไรกันไป
การนำเสนอข่าวแบบ… แค่เนี้ยนะเป็นข่าว

ผมอยากจะวิจารณ์เรื่องนี้มาก ในมุมมองของคนเสพข่าว เสพ Content มาเยอะมาก ผมมองว่า ข่าวจากสื่อหลักในตอนนี้นำเสนอเรื่องบางเรื่องที่ไม่ต้องรู้ก็ได้ไหม ไม่ต้องนำเสนอแล้วดูดีกว่าเยอะ หรือนำเสนอแล้ว “จำเป็นต้องรู้ไหม” ซึ่งช่วงที่ผ่านมา ข่าวจากกระแสหลักนำเสนอข่าวที่แบบว่า….
No comment!
โชคดีที่แม่ผมยังเสพข่าวแบบเก่า ๆ อยู่ ซึ่งวิธีของแม่คือ ทำอาหารไปด้วย เปิด Notebook เข้าช่องสื่อหลัก แล้วเปิดเสียงจากลำโพงฟังข่าวไปด้วย เหมือนเปิดทีวีค้างเอาไว้แบบนั้นเมื่อ 10-20 กว่าปีที่แล้ว ทำให้เริ่มวิเคราะห์ข่าวว่า ปัจจุบัน นำเสนอข่าวแบบไหนบ้าง
แต่ข่าวบางช่อง ผมทนไม่ได้จริง ๆ เอาเรื่องชาวบ้านที่ไม่ควรจะเป็นข่าว ดันออกข่าวซะงั้น ถ้าข่าวอย่างเรื่องที่สร้างผลกระทบกับคนหมู่มาก อย่าง COVID-19, เทคโนโลยีต่าง ๆ, เรื่องม็อบ ฯลฯ ตรงนี้จะไม่ว่าเลย เพราะ ณ ปัจจุบัน แม่ของผมคือตัวอย่างที่ชัดเจนของการเสพข่าวของคนยุค Baby Boomer สื่อหลักยังมีอำนาจในการนำเสนอสื่อที่เข้าถึงคนหลาย ๆ คนในประเทศ
แต่มีอยู่ช่วงนึง ข่าวมีการบิดเบือนจากความจริง และสุดท้าย แม่ของผมก็รับข่าวสารแบบผิด ๆ จนผมต้องคอย Fact check ให้เป็นเรื่องที่ถูกต้อง
คนรุ่นใหม่มีภูมิคุ้มกันในโลกออนไลน์ค่อนข้างสูง

เอาจริง ๆ คนรุ่นใหม่ก็มีอีโก้ในการเสพสื่ออยู่แล้ว ในขณะที่คนรุ่นเก่าเลือกเสพสื่อจากสื่อหลักเหมือนเดิม ซึ่งแน่นอนว่า คนรุ่นเก่าอาจจะมีปัญหาทางสายตา บางคนยังอ่านไม่ถนัดก็มี บางคนใช้ Twitter ไม่เป็น ต่อให้ใช้เป็น ก็ต้องหามือถือที่จอใหญ่ ๆ แล้วต้องขยายตัวหนังสือใหญ่ ๆ หรือบางคนอ่านหนังสือไม่ออกก็มี ซึ่งตรงนี้เป็นปัญหาทางด้านสุขภาพ ฯลฯ
ซึ่งการที่คนรุ่นใหม่มีอีโก้ในการเสพสื่อ ทำให้กล้าที่จะเรียนรู้และเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากสื่อต่าง ๆ ในโลกออนไลน์ โดยเฉพาะ Content แซะ Content ประชด Content ล้อเลียนที่ดูเหมือนจะจริงจัง แต่จริง ๆ ล้อเล่น ถ้าคนรุ่นใหม่หรือคนที่มีประสบการณ์การใช้งานอินเตอร์เน็ตจะมองออกว่า Content นั้นเป็น Content ประชด แต่ถ้าคนที่ไม่รู้ก็จะมองว่ามันคือเรื่องจริง แล้วปัญหาคือ คนรุ่นใหม่จะมองว่า พวกคนรุ่นเก่าที่คิดว่า Content ประชดคือ Content จริง ๆ จะโดนด่าว่า “โง่” ทันที ทั้ง ๆ ที่เค้าคงไม่รู้จริง ๆ อะไรประมาณนี้
แล้วบังเอิญ Content แนวประชดดันพูดถึงในโลกออนไลน์เยอะ และคนรุ่นใหม่กลับชอบ Content แบบนี้กัน ซึ่งสื่อหลักให้ Content แบบนี้ไม่ได้ ถ้าทำแบบนั้น อาจจะผิดจรรยาบรรณสื่อ
การปิดกั้นสื่อจากผู้มีอิทธิพล

อีกหนึ่งสิ่งที่คนรุ่นใหม่เลิกดูสื่อหลัก คือเรื่องของ “ผู้มีอิทธิพล” ในประเทศนั้น ๆ ที่ครอบงำสื่อหลัก ซึ่งในเมื่อปัจจุบัน สื่อหลักโดนกลุ่มผู้มีอิทธิพลครอบงำ และให้ข้อมูลเท็จโดยตลอด ทำให้ไม่จำเป็นต้องไปเชื่อสื่อหลักอีกแล้ว ต่อให้สื่อทางเลือกอาจจะแสดงข้อความหรือสร้าง Content ที่อาจจะไม่ตรงกับจรรยาบรรณสื่อบ้าง แต่สิ่งที่สื่อทางเลือกมีคือ การเลือกที่จะ “ไม่บิดเบือน” ความจริง
เพราะสื่อทางเลือกสมัยนี้ สามารถปกปิดตัวตนได้ และเขียน หรือสร้าง Content ได้โดยไม่มีผู้มีอิทธิพลคอยบงการ Content นั้น และสื่อทางเลือกยุคนี้ต่างแข่งขันกันหนักมาก ทำให้เราจะได้เจอแต่ Content ที่มีคุณภาพให้เราได้เสพกัน
ทั้งหมดที่ผมเขียนบทความนี้ เป็นเพียงความคิดเห็นของเราครับ ซึ่งไม่ต้องเชื่อผมทุกอย่างก็ได้ อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมการเสพสื่อในแต่ละยุคจะเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ในยุคที่ผ่านมา อาจจะดูจากทีวี หรือหนังสือพิมพ์ ในยุคนี้ จะดูจากความสนใจของเรา หรือในอนาคตอาจจะเป็นอย่างอื่นที่ในตอนนี้เรายังมองภาพไม่ออกครับ และพอถึงยุคนั้น เด็กรุ่นใหม่ก็จะเสพสื่อด้วยวิธีใหม่ ๆ และถ้าไม่ตามโลก คนที่เป็นผู้ใหญ่ในวันนั้นอาจจะถูกเด็กรุ่นใหม่ในอนาคตด่าว่าหัวโบราณก็เป็นได้
Leave a Reply