แชร์ประสบการณ์ใช้ iPhone อย่างจริงจังเป็นครั้งแรก

iPhone เป็นมือถือที่ผมอยากเป็นเจ้าของมานานมาก แต่ที่ผ่านมา ไม่ได้มีเงินเยอะขนาดนั้น การซื้อของราคาเป็นหมื่นในช่วงที่หลังเรียนจบหรือช่วงทำงานประจำเป็นไปได้ยากมาก เพราะค่าครองชีพตอนที่อยู่กรุงเทพสูงเอาเรื่อง อีกทั้งในตอนนั้นยังไม่เห็นความแตกต่างระหว่าง Android กับ iPhone มากนัก

Turning point สำคัญที่เลือก iPhone คือเทคโนโลยีอะไรหลาย ๆ อย่างที่ล้ำมากกว่าการปล่อยสเปค CPU, RAM ที่ออกมาเป็นตัวเลข แบรนด์นี้เค้าเน้นที่ UX ที่ดีมาก ๆ แต่ถ้าจะให้ UX ดีมากจริง ๆ ต้องทุ่มเงินหลักหมื่น-แสน จุดที่ผมสนใจและว้าวมาก คือ LiDAR ที่มีใน iPhone 12 Pro, Pro Max กับถ่ายไฟล์ Raw ได้ เป็น Apple ProRAW

ส่วนใหญ่ เวลาซื้อมือถือ หลาย ๆ คนจะเลือกความเก่งของกล้องเป็นหลัก มันมีปัจจัยแบบนี้จริง ๆ แต่ผมไม่ค่อยมีประสบการณ์ในการใช้กล้องมือถือที่ดีเท่าไร เพราะเวลาถ่ายภาพ จะใช้กล้อง Sony a6000 มากกว่า ภาพจำกล้องมือถือตัวเก่าที่ผ่านมา ไม่ค่อยดีเท่าไร เพราะมือถือช้าด้วย กว่าจะเปิดแอพมือถือ ก็รอหลายวินาทีอยู่ เปิดช้า ถ่ายก็ช้า กว่าจะบันทึกรูปก็นาน ซึ่งเป็นภาพจำที่ไม่ค่อยโอเคสำหรับผม

ก่อนที่จะมี iPhone 12 Pro ก็มี Mi A1 เป็นมือถือ Android One ที่ปัจจุบันโดนลอยแพเรียบร้อยแล้ว Android อยู่ที่เวอร์ชั่น 9 ซื้อมาราคา 7,000 กว่าบาทในช่วงปี 2018 โดยมือถือที่ใช้มา ส่วนใหญ่จะเป็นมือถือราคาต่ำกว่าหมื่นทั้งนั้น แม้ว่าจะเป็นมือถือ Chipset Snapdragon 625 แต่การใช้งานในปัจจุบัน ไม่ค่อยดีเท่าไร แถมจอที่ใช้ก็แตกไป 2 รอบ จนจอที่ใช้ล่าสุดเป็นจอคุณภาพพอใช้ได้ แต่ sRGB ห่วยบรมเลย ก็ทนใช้ไปจนกว่าจะหมดความอดทน

พอได้ใช้ iPhone 12 Pro เท่านั้นแหละ เออ มันสมกับ Pro จริง ๆ มันสามารถใช้แบบมืออาชีพได้เลย โดยเฉพาะตัววัดที่ใช้ LiDAR Scanner จริงจัง กลายเป็นว่า เวลาจะวัดอะไร ไม่ต้องใช้ตลับเมตรแล้ว สุดมาก ชอบจริง ๆ 

ส่วนการถ่ายภาพ รู้สึกว่า Apple มัน Next Level อีกแระ ลืมภาพจำของกล้องมือถือไปเลย เรื่องของการเบลอ เรื่องของการถ่ายภาพตอนกลางคืน เรื่องของ Apple ProRAW มันสุดมาก ว่าจะลองถ่ายภาพแล้วใช้กล้อง iPhone 12 Pro ดูว่าจะเทพขนาดไหน เดี๋ยวหาเวลาแปป

สิ่งที่ต้องปรับตัวจาก Android

สิ่งที่ต้องปรับตัวจาก Android มีหลายเรื่องเลย คือ มือถือ Android ตัวเก่ามีปุ่ม Back กดแล้วถอยได้สะดวกสะบาย แต่ iPhone มันไม่มีปุ่ม Back วิธี Back ต้องไปกดปุ่มตรงบนซ้ายหรือปุ่มที่ Dev ของแต่ละแอพเค้าทำปุ่มมาให้ บางแอพดีหน่อย ให้ swipe จากขอบมือถือฝั่งซ้ายเลย

อย่างที่ 2 คือ Layout แป้นพิมพ์ บางทีจะงง ๆ หน่อย โดเฉพาะปุ่มเปลี่ยนภาษา แต่ที่ผมซีเรียสคือ Dictation (พิมพ์ด้วยเสียง) เห็นหลาย ๆ คนบอกว่า พิมพ์พลาดบ่อยมาก พอเอาไปใช้จริง ๆ ไม่ได้พลาด พิมพ์ได้ดีเลย แต่ข้อเสียคือ ถ้าพิมพ์ด้วยเสียงเวลาจะใส่ตัวหนังสือใน IG Story ที่เป็นวีดีโอ วีดีโอจะหยุดเล่น (แต่โพสต์จริง ๆ ก็ยังเล่นวีดีโอได้อยู่) ซึ่งวิธีพิมพ์ด้วยเสียงที่ถูกต้อง คือ วางมือถือในระยะเดียวกับที่ถือมือถือทั่วไป เวลาใช้งานยังไง ก็ถือแบบนั้น แล้วพูดออกมา ไม่ต้องเอาปากจ่อไมค์ ก็จะพิมพ์ออกมาได้เลย (ส่วนใหญ่พิมพ์แบบนี้)

อย่างที่ 3 คือ การโหลดแอพแล้วต้องมายืนยันตัวตน แนะนำว่า ทำ Face ID (หรือ Touch ID ก่อนให้เรียบร้อย) แล้วค่อยโหลดแอพ

อย่างที่ 4 Face ID ใช้ไม่ได้ถ้าใส่หน้ากาก เรื่องนี้เป็นข้อเสียมากเลย น่าจะมี Touch ID ในรุ่นต่อ ๆ ไป

สิ่งที่ชอบใน iPhone คือเวลาหยิบมือถือมา หน้าจอจะเปิดให้เองโดยอัตโนมัติ ตรงนี้ชอบมาก มันเหมือน เวลาใช้ Apple Watch พิมพ์หันข้อมือเพื่อดูนาฬิกาแล้วมันจะสว่างโดยอัตโนมัติ แล้วถ้าสแกน Face ID ผ่าน ก็เลื่อนจากข้างล่างไปเลย 

ส่วน Animation เหมือนมันจะดูล้ำแบบพอดี ไม่ได้ล้ำแบบลิเกเกิน ชอบครับ

Neural Engine ตัวนี้คือ AI ที่ดีเลยทีเดียว

หลัง ๆ มา Apple โชว์จุดเด่นของ Neural Engine ซึ่งเป็นตัว Core ที่ทำงานด้าน Machine Learning โดยเฉพาะ ซึ่ง CPU ที่พูดถึงเรื่องนี้เด่นๆเลยคือ CPU ของแอปเปิ้ล แล้วภายหลัง Apple ก็เอา Neural Engine ไปใช้กับ CPU ของ Mac 

ถามว่า CPU ที่เน้นการทำงานด้าน Machine Learning มันจำเป็นไหม ณ เวลานี้ก็เริ่มจะจำเป็นแล้ว ก็อยู่กับผู้พัฒนาว่าจะใช้การทำงานด้าน Machine Learning ได้ถึงขนาดไหน มันเป็น Hardware acceleration ด้าน Machine Learning ที่แบ่งเบาภาระการทำงานด้านนี้ เหมือนกับที่เวลาประมวลผลกราฟฟิกก็ใช้ GPU ไม่แน่ในอนาคต CPU ของ Intel หรือ AMD อาจจะเพิ่มตรงส่วนนี้ เพราะ Application หลาย Application เริ่มจะใช้ Machine Learning บ้างแล้ว 

ผมงงมากที่การพิมพ์ด้วยเสียงใน iPhone มันทำออกมาได้สุดยอดมากๆ Google ทำออกมาได้แม่นขนาดไหน Apple ก็ทำออกมาได้แม่น แล้วหลังมา Google ก็เริ่มพิมพ์ด้วยเสียงไม่ค่อยแม่นแล้ว ไม่รู้เป็นเพราะเหตุใด (นี่ไม่ได้อวยนะ)

ว่าด้วยเรื่อง AirDrop กับการทำงานคู่กับ Mac

ปัญหาการทำงานระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับมือถือคือการส่งข้อมูลระหว่างกัน ถ้าเป็นเมื่อก่อนเวลาผมจะส่งผ่านทาง Wi-Fi ก็จะใช้โปรแกรมให้ลิ้งค์ ftp โดยการส่งไฟล์ผ่านระบบนี้ถือว่าล้ำเอาเรื่อง แต่พอมาเจอ ecosystem ของ Apple ผมรู้สึกว่ามันสะดวกยิ่งกว่าด้วยความเร็วในการส่งไฟล์ที่มากอย่างน่าตกใจ

ถ่ายวิดีโอด้วย iPhone แล้วส่งไฟล์เข้าเครื่อง Mac ผ่านทาง AirDrop มันสะดวกมากเลย แทบจะไม่ต้องเสียบสายเคเบิล ไม่รู้ว่าในวินโดว์มันมีหรือเปล่า ซึ่งตรงนี้ทำให้เวลาผมทำคอนเทนท์เกี่ยวกับวิดีโอทำได้สะดวกมากกว่าเดิม มันสะดวกจนผมตกใจเลย

ข้อเสียที่ไม่ค่อยชอบ

ข้อเสียที่ไม่ค่อยชอบคือ พวกไฟล์ภาพเวลาเซฟใน iPhone ถูกมัดรวมเป็นที่เดียว ไม่มีการแยกเป็น Folder เหมือน Android บางทีอยากแยกเป็นหมวดหมู่ แต่ไม่สามารถทำได้, เวลาซื้อต้องเผื่อเงินเอาไว้ไม่เกิน 5,000 เพราะมันไม่จบ มันมีเคส, มีที่ชาร์จ, ฟิล์มกระจก ทำเหมือนจะซื้อกล้องไปได้ ขายแต่ Body อย่างอื่นหาซื้อเอง นอกจากนี้ยังต้องเสียเงินให้ App บาง App ด้วย เพื่อใช้งานถึงขีดสุด (ส่วนใหญ่เป็นแอพแบบจ่ายรายเดือน)

โดยรวมคือ มันตอบโจทย์คนใช้งานระดับ Pro จริง ๆ สมชื่อ Pro ยิ่ง Content Creator นี่ เป็นได้ทุกอย่างแล้วจริง ๆ ถ้าจะจบงานด้วย iPhone เครื่องเดียวคงไม่แปลก อย่างเขียนบทความ ก็พิมพ์ด้วย Dictation เอา หรือถ่ายวีดีโอลง Tiktok ก็มีเครื่องมือครบครันแล้วนี่ หรือแต่งภาพแล้วส่งด่วน ก็ทำได้ดี

นอกจากข้อเสียที่กล่าวมาข้างต้น ยังมีข้อเสียอีกอย่างที่ผมรู้สึกได้ คือน้ำหนักเครื่องมีมากขึ้น เพราะผมใช้ iPhone 12 Pro ไม่นึกว่าน้ำหนักมันจะเยอะขนาดนี้ คงเพราะวัสดุที่ใช้ด้วย มีความหรูหราแต่เพิ่มเติมคือน้ำหนัก เหมือนผมใช้เครื่องมือหนัก ๆ ที่โปรใช้ ถ้าเป็นคนใช้งานทั่วไป ผมมองว่าต้องมีบ่นแน่นอน

Advertisement

One response to “แชร์ประสบการณ์ใช้ iPhone อย่างจริงจังเป็นครั้งแรก”

  1. […] iPhone ยังไม่เข้ามาในประเทศไทยเลย ก็มี Nokia, […]

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Blog at WordPress.com.

%d bloggers like this: