ทำไมผมเลิกพิมพ์ด้วยเสียง (แต่ไม่ได้เลิกซะทีเดียว)

มีอยู่ช่วงหนึ่งผมชอบการพิมพ์ด้วยเสียงมาก เพราะทำให้บทความเราดูยาวขึ้น แต่สุดท้าย ผมก็เลิกพิมพ์ด้วยเสียง และหันมาพิมพ์เหมือนเดิม ซึ่งหนึ่งในสาเหตุหลัก ๆ ที่ผมเลิก เพราะผมไม่ถนัดพิมพ์แบบนั้น ถ้าพิมพ์ด้วยเสียงกับการแชทด้วยมือถือ จะเหมาะกว่ามาก แต่ถ้าเป็นการพิมพ์ด้วยเสียงเป็นบทความ มันจะรู้สึกขัด ๆ มากกว่า และไม่ค่อยถนัดเวลาคิดและพิมพ์ออกมา

แต่แค่สาเหตุเดียวคงยังไม่พอ เราได้ List สาเหตุมาให้อ่านกันครับ

ภาษาเขียน​ (พิมพ์) ไม่เหมือนภาษาพูด

ถ้าเราพูดเยอะ ๆ มันก็ยังน่าฟังและมีความเป็นมนุษย์ แต่ถ้าลองเอาไปถอดเทปเป็นตัวหนังสือ จะพบว่า ภาษาพูดมันมีความตรงไปตรงมาและห้วนมากกว่าภาษาเขียน เนื่องจากน้ำเสียงในการพูดสามารถแบ่งความรู้สึกออกมาได้ดี ถ้าเป็นภาษาเขียน จะไม่มีการแสดงความรู้สึก ดังนั้น ภาษาเขียน​ (พิมพ์) ก็ต้องใช้วิธีพิมพ์แบบเดิมถึงจะดีที่สุด

และการพิมพ์ ถ้าพิมพ์ดี ๆ จะไม่ยืดเยื้อ มีแต่เนื้อ ๆ อ่านแล้วเข้าใจได้ทันที คำพูดที่ไม่จำเป็นที่เราพูดกันบ่อย ๆ หากเขียนเป็นภาษาเขียนจะไม่มีปัญหานี้

การพิมพ์ด้วยเสียงเหมาะกับการแชทมากกว่าเขียนเป็นบทความ

แต่การพิมพ์ด้วยเสียงก็เหมาะกับการแชทหรือเหตุการณ์ที่เรากำลังเดินอยู่แล้วเราต้องตอบแชทในตอนนั้น ซึ่งเดิมที การพิมพ์ด้วยเสียงเป็น Feature ในมือถือ แต่ในปัจจุบันใส่ในคอมเพื่อเป็นตัวเลือกในการพิมพ์

แต่ถ้าเอาการพิมพ์ด้วยเสียงไปเขียนบทความ นอกจากคำพูดจะเยิ่นเย้อแล้ว บางทีก็ไม่น่าอ่านด้วย อย่างไรก็ตาม เป็นความถนัดของแต่ละบุคคล ซึ่งเราขอไม่ก้าวก่ายความถนัดตรงนี้

ความเร็วในการเขียนบทความก็พอ ๆ กัน

ผมนับดูระยะเวลาในการพิมพ์แบบปกติและการพิมพ์ด้วยเสียง แม้ว่าการพิมพ์ด้วยเสียงจะเร็วกว่าการพิมพ์แบบปกติ แต่การพิมพ์แบบปกตินอกจากจะไม่ต้อง Re-check แล้ว ยังทำความเร็วในการเขียนบทความพอ ๆ กัน ดังนั้น การเปลี่ยนมาเขียนบทความเป็นพิมพ์ด้วยเสียงยังไม่ได้ให้ความแตกต่างมากนัก ถ้าเป็นแบบนั้น สู้ทำเป็น Podcast ไปเลยดีกว่า

พิมพ์ผิดบ่อย (ถ้ามีคำภาษาต่างประเทศจะแย่กว่านี้)

แม้ว่าความแม่นยำในการพิมพ์ด้วยเสียงในยุคปัจจุบันจะเยอะกว่าเมื่อก่อน แต่ก็ยังมีความผิดพลาดกันบ้าง และถ้ายิ่งเป็นภาษาต่างประเทศ จะยิ่งพิมพ์ผิดหนักกว่านี้อีก เพราะสำเนียงของเราไม่เหมือนเจ้าของภาษา ซึ่งการพิมพ์ เสียงแต่ละครั้งจำเป็นต้องเช็คอีกรอบ

ถ้าใช้ Google วอยซ์ไทยปิ้ง ยังมีการพิมพ์ผิดแล้วสามารถแก้ไขทีละคำได้ จะมีการวางจุดไข่ปลาอยู่ข้างล่างแล้วเราก็คลิกขวาเพื่อเลือกคำที่ถูกต้อง ถ้าเป็นการพิมพ์ด้วยเสียงของ Apple ใน Mac จะไม่มีการแก้ไขเป็นจุดไข่ปลา ที่งงยิ่งกว่าคือ ถ้าพูดว่า “จุดไข่ปลา” จะแสดงเป็น … แทน

เป็นหนึ่งในพฤติกรรมแปลกประหลาด (ถ้าใช้จริงจัง)

ลองนึกสภาพดูถ้าเราพิมพ์ด้วยเสียงในออฟฟิศ คนในออฟฟิศก็จะงงว่าเรากำลังพูดกับใครอยู่ รู้มั้ยว่าเรากำลังทำคอนเทนท์ด้วยการพิมพ์ด้วยเสียง คนจากเข้าใจว่าเรากำลังทำอะไรอยู่กี่คน เพราะถ้าไม่รู้ก็จะมองว่าเราเป็นคนตลาด งั้นถ้าจะใช้การพิมพ์ด้วยเสียงควรใช้ในพื้นที่ที่เป็นเวิร์คฟอร์มโฮมหรือบอกกับเพื่อนแล้วเข้าใจจะดีกว่า

อีกสิ่งหนึ่งที่ไม่พูดไม่ได้คือ คนอื่นจะรู้ว่าเรากำลังทำคอนเทนท์อะไร เราพูดออกมาให้คนอื่นได้ยิน ซึ่งมันไม่ได้เป็นเรื่องส่วนตัว ถ้าเป็นคอนเทนท์ประเภท NSFW ยังไงก็ต้องใช้การพิมพ์แบบปกติอยู่ดี

Content พิมพ์ยาวเหยียด ยาวไปไม่อ่าน

พวกคอนเทนท์ที่พิมพ์กันยาวยาวเหมือนจะดูดี ถ้าเขียนอะไรมั่วมั่วซั่ว ๆ ไปเรื่อยเรื่อยมันก็ไม่น่าอ่านเหมือนกัน ผมเคยเขียนคอนเทนท์ยาวยาวด้วยการพูดแล้วพออ่านด้วยตนเองกลับพบว่าคอนเทนท์มันยาวเกินไปจริงๆ แต่ว่าถ้าเราพิมพ์ โดยวิธีปกติคอนเทนท์ของเรามันจะกระชับและอ่านง่ายขึ้น ซึ่งในปัจจุบันปฎิเสธไม่ได้ว่าคนส่วนใหญ่ต้องการความเร่งรีบแม้แต่การเสพคอนเทนท์ก็เช่นกัน ไม่แปลกว่าทำไมบางคนสิงอยู่ในทวิตเตอร์ แล้วชอบความเร็วของการสื่อสารและข่าวคราวที่ถาโถมในทวิตเตอร์

แต่ถ้าถามผม การพิมพ์ด้วยเสียงมันก็มีเสน่ห์ของมันอยู่ อยู่กับสถานการณ์ในตอนนั้นว่าเราอยากจะพิมพ์ด้วยเสียงหรือเราอยากจะพิมพ์แบบปกติ ไม่มีใครมากำหนดเราได้ 100% อยู่กับตัวเราแล้วว่าเราจะเลือกแบบไหน

เอาจริงๆ อย่าง Content นี้ผมก็พิมพ์ด้วยเสียงในบางจุดเหมือนกัน มันแล้วแต่อารมณ์ด้วย

Advertisement

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Blog at WordPress.com.

%d bloggers like this: