Twitter กับ Social Media แห่งความจริง

Twitter จริง ๆ มีมานานแล้ว นานพอ ๆ กับช่วงที่ Facebook เริ่มเป็นที่รู้จักในเมืองไทย

ก่อนหน้านั้น ผมรู้จัก Twitter ผ่านทาง Blogger ที่ออกรายการใน Free TV ช่องไหนไม่รู้ แต่เค้าแนะนำวิธีการเล่น Twitter

ผมเองก็เป็น Geek เหมือนกัน ก็สนใจ Social Media อะไรใหม่ ๆ ผมหลวมตัวเข้าไปสมัคร Twitter ในเวลาต่อมา

ซึ่งปีที่สมัครคือปี 2011 ก่อนหน้านั้น Twitter มีฟังก์ชั่นง่อย ๆ ไม่ค่อยเยอะเท่าไร ต้องมีแอพเสริมคอยเล่น Twitter

อย่างฝั่ง iOS ต้องมี Tweetbot และเป็นแอพเสียเงินด้วย

ซึ่งก็พัฒนาออกมาหลายเวอร์ชั่น

เวลาผ่านไป ดูเหมือนผมจะกลับมา Twitter อีกครั้ง

แต่กลับมาในฐานะนักอ่าน เพราะผมเองไม่อยากแสดงความคิดเห็นอะไรใด ๆ ปล่อยให้เด็ก ๆ หรือวัยรุ่นเค้าเคลื่อนไหวกัน เราก็ดูห่าง ๆ แทน

Twitter เคลื่อนไหวด้วยอุดมการณ์ ความคิดที่เหมือนกัน

person holding black android smartphone

ช่วงหลัง ๆ มา Facebook ของผมเข้าขั้นอาการหนักมาก อยู่ในระดับที่ผมโพสต์อะไรไปแล้วไม่มีคนกดไลค์ ไม่มีการแสดงความคิดเห็น Feed เต็มไปด้วยโฆษณาที่โคตร ๆ เยอะ และโฆษณาซ้ำ ๆ กัน ซ้ำทั้งโพสต์ ทั้งเพจที่ลงโฆษณา และเนื้อหาของโพสต์ในช่วงนั้น ๆ

อย่างตอนนี้ผมเจอโฆษณาหน้ากากผ้า ผมงงว่าทำไมหน้ากากผ้ามันมีเยอะจัง ไม่ได้เยอะธรรมดา เยอะจัด ๆ เลื่อนเจอแต่หน้ากากผ้าเต็มไปหมดเลย และพอเข้าไปดูว่า “ทำไมถึงเห็นโพสต์นี้” ก็เจอแต่ข้อมูลที่ อิหยังวะ

บางโฆษณาบอกว่า มาจากความสนใจ เกม, ทาโกยากิ, หมูปิ้ง, เสื้อผ้า ฯลฯ

ซึ่งไม่ได้เกี่ยวอะไรกับการซื้อหน้ากากผ้าเลย ถ้าอยู่ที่กรุงเทพหรือหัวเมืองใหญ่ ๆ หรือเข้าผับบ่อย ๆ ก็ว่าไปอย่าง

แต่ตอนนี้อยู่ที่ต่างจังหวัด เลยงง ๆ ว่าทำไมเค้าหากลุ่มเป้าหมายแบบนี้

และอีกอย่าง พวกเพื่อน ๆ ก็ไม่ได้เล่น Facebook กัน หรือแม้แต่ Social media อื่น ๆ ก็นาน ๆ ทีมาเล่นครั้ง พอโพสต์เสร็จก็ไม่ได้คุยอะไรกันต่อ บางคนก็มีครอบครัวอะไรกันแล้ว ทำให้การเล่น Facebook อะไรไม่จำเป็นอีกต่อไป

ก็พยายามเข้าไปกดไลค์ Comment ดูเหมือนยอด Reach ก็ไม่กระเตื้องขึ้น เลยหนีมาดูอะไรใน Twitter ดีกว่า

ซึ่งใน Twitter แตกต่างจาก Facebook ตรงที่ Twitter ส่วนใหญ่จะไม่เปิดเผยตัวตนว่าเป็นใครจริง ๆ โลกของ Twitter มีแต่ความคิดเห็นที่เห็นด้วย หรืออยากจะบอกอะไรก็บอก บางคนที่ติดตามส่วนใหญ่จะติดตามเพราะความคิดของคน ๆ นั้นมาก ถามว่าวิธีเพิ่มการติดตามของ Twitter เป็นยังไง

วิธีเพิ่มคือ ให้เราเป็นตัวของตัวเอง และพยายามเข้าร่วม Hashtag ต่าง ๆ ที่ติดเทรนด์ในตอนนั้น เอาง่าย ๆ เราต้องพยายามตามกระแสต่าง ๆ ในแบบสไตล์ของเรา

เหมือนประมาณว่า เออ การพูดแบบนี้ มันใช่เราเลยว่ะ แต่เราพูดถึงเทรนด์ในตอนนั้น ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่ดีมาก ๆ เลยทีเดียว

และยิ่งในช่วงนี้ เป็นช่วงที่การเมืองร้อนแรงมาก ๆ และคนที่ขับเคลื่อนเรื่องการเมือง กลับเป็นน้อง ๆ นิสิตนักศึกษาอายุไม่เกิน 30 (ส่วนใหญ่จะ 20 หรือต่ำกว่านั้น) ซึ่งน้อง ๆ เหล่านี้ใช้ Twitter ในการสื่อสาร รวมพล และนัดกันทำอะไรบางอย่าง ทำให้ Flash mob ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันไม่เหมือนกับการชุมนุมครั้งไหน ๆ ที่เคยมีมา และคนใหญ่คนโตยากที่จะต่อกร

ภาษาใน Twitter ที่แรง ๆ ก็ไม่ต่างจากภาษาพูดที่คุยกับเพื่อน

person holding turned on space gray iPhone 5c near table

ก็ต้องเข้าใจว่า ตัวหนังสือที่ออกมาผ่าน Twitter ความรู้สึกที่ออกมามันไม่เหมือนสิ่งที่เราพูดคุยกันในวงเพื่อน ๆ บางคำที่ดูแรง แต่เวลาพูดออกมากลับดู Soft บางคำที่ดู Soft แต่เวลาพูดออกมาก็ดูแรง และยิ่งตัวหนังสือที่ออกมา ยากที่จะคิดว่า สิ่งที่พิมพ์ออกมา เรารู้สึกอย่างไร

ซึ่งใน Twitter ไม่มีการกรองคำหยาบอยู่แล้ว ทำให้คนสามารถใช้คำหยาบได้อิสระเสรี

แต่รู้หรือไม่ว่า สิ่งที่คนจะหลงเชื่อและยอมรับจนมีการ Retweet อย่างหนักหน่วง มี 3 อย่าง

  • เล่าสิ่งที่เกิดขึ้นหรือที่มาของ Tag อย่างเข้าใจง่าย
  • แย้งอย่างมีเหตุผล
  • ช่วยเหลือ Community ด้วยกัน

ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีคำหยาบเลย

ในความเป็นจริง คำหยาบถ้ามันหยาบแบบไร้ความสร้างสรรค์ เช่น Bully หน้าตา, ยัดคำหยาบรวม ๆ และด่า ๆ จะมีคนสวน และสวนแบบมีเหตุผล กลายเป็นว่าคน Retweet คนที่สวน อ้าว เกมเลย

ระวัง Echo Chamber

happy birthday to you print

แม้ว่าระบบ Trend ทำให้เรารู้ข่าวสารต่าง ๆ ทั้งในประเทศหรือรอบโลกได้เป็นอย่างดี แต่สิ่งที่ต้องระวังเลยคือ เรื่องราวต่าง ๆ จะเน้นแต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงอย่างเดียว เพราะ Tag ต่าง ๆ ถูกสร้างมาจากกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่เห็นด้วยแต่เรื่องนั้น เช่น แท็กดาราคนนั้น เราจะเห็นแต่คนอวยดารากันหมดหมดเลย แทบไม่เห็นคนติดาราคนนั้น หรือบางที เราก็เห็นแต่คนติเต็มไปหมดเลย เช่น แอคแรกบอกคนนี้แสดงไม่ดี แข็งเหมือนหุ่นยนต์ อีกคนก็เสริมอีก พอเจอ Tweet ที่บอกว่าแสดงดีด้วยเหตุผล คนหมู่มากที่ไม่เห็นด้วยก็จะถล่มกันซะงั้น

อย่างไรก็ตาม น้ำหนักของเรื่องราวต่าง ๆ จะเห็นด้วย หรือพลิกกลับ ก็ต่อเมื่อมีหลักฐานที่มีมูล หรือมีความเป็นไปได้ หรือมีพยานที่บอก หรือมีแถลงการณ์จากเจ้าตัวให้หยุดคิดเองเออเอง

ในขณะเดียวกัน ดราม่าหลาย ๆ ครั้งมักจะมีคนแย้ง ก็อย่างที่บอกไป ถ้าเราแย้งอย่างมีเหตุผล จะมีคนเห็นด้วยกับเรา ซึ่งไม่รู้ว่า ใครจะเริ่มแย้งแบบมีเหตุผล

อย่า Fake

อ่านถึงตรงนี้แล้ว รู้หรือยังว่า Twitter คือ Social Media ที่ความจริงคือสิ่งที่มีค่า

ใครก็ตามที่ Fake หรือมีความคิดเห็นที่ย้อนแย้ง ความคิดนั้นก็จะถูก disrupt ทันที ด้วยความจริงจากหลักฐานบน Internet

และเราไม่รู้ว่า สิ่งที่เราโพสต์ใน Twitter หรือใน Social Media อื่น ๆ

บางทีเราอาจโดนแคปและนินทางใน Twitter ก็เป็นได้โดยไม่รู้ตัว

Advertisement

One response to “Twitter กับ Social Media แห่งความจริง”

  1. […] ซึ่งปัจจุบัน ภาพวาดเหล่านั้นมีการเสียดสี บางภาพเหมือนหลุดออกจาก Comic ฝั่งตะวันตก และเมื่อถูกใจก็แชร์ต่อไปเรื่อย ๆ ซึ่งตามความจริง คนรุ่นใหม่จะอินกับงานศิลปะ ก็ต่อเมื่อคนรุ่นใหม่เห็นงานนั้นแล้วรู้สึก “เออว่ะ” สวยไม่สวย ไม่รู้ แต่ถ้ามัน “เออว่ะ” ขอแชร์ลง Story หน่อยนะ (เลียนแบบคำพูดใน Twitter) […]

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Blog at WordPress.com.

%d bloggers like this: