ปัจจุบันวงการไอดอลเป็นวงการที่ยอมรับกันทั่วไปในสังคมไทยแล้ว ตั้งแต่ที่ BNK48 เข้ามา และร่วมงานกับสังกัดอื่น ๆ ทำให้หลาย ๆ คนรู้จักกับ BNK48 มากขึ้น และรู้จักกับระบบไอดอลในเวลาต่อมา
บางคนที่เป็นคนนอก เมื่อรู้จักกับ BNK48 ก็รู้จักกับประเภทของไอดอลเพิ่มเติม
บางคนดำดิ่งไปเรื่อย ๆ จนรู้สึกว่าชอบวงการนี้
บางคนรู้สึกว่า สาว ๆ ไอดอลทำให้ชีวิตของตัวเองกระชุ่มกระชวย ได้เจอน้อง ๆ อะไรแบบนี้
แต่บางคนกลับไม่ชอบวงการไอดอล บางคนแอนตี้ไปเลยก็มี
เหตุผลที่บางคนไม่ชอบวงการไอดอล ผมรวบรวมมาแล้วครับ ไปอ่านกันเลย
เพื่อนใกล้ตัวที่ได้เป็นไอดอลเปลี่ยนไป เพราะกฎไอดอลที่อิหยังวะสำหรับคนทั่วไป
เป็นเรื่องปกติที่มนุษย์ต้องการไต่เต้าตัวเองไปสู่จุดที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ
ตั้งแต่ยังไม่ดัง เป็นคนทั่ว ๆ ไป จนตัวเองโด่งดังมากเรื่อย ๆ บางทีก็พอกับชีวิตความเป็นอยู่ในตอนนั้น
เส้นทางต่าง ๆ ที่ทำให้ตัวเราสูงขึ้น บางเส้นทางก็สามารถรักษาเพื่อนเอาไว้ได้
ยกเว้น เส้นทางไอดอล
ปัญหาของเด็กสาวที่จะเป็นไอดอล คือ ถ้าได้เป็น จะถูกตัดขาดอะไรหลาย ๆ อย่าง กลายเป็นคนใหม่ที่สวมบทบาทความเป็นไอดอล
ปกติการสวมบทบาทจะสวมเพราะเราอยู่ในเหตุการณ์นั้น ๆ
แต่ไอดอล บางอย่างมันก้าวก่ายชีวิตของเธอและเพื่อน ๆ ไปเลย
เริ่มจาก ห้ามมีแฟน (แม้ว่ากฎที่ออกมาจะไม่บอกว่ามีแฟน แต่กฎบางข้อออกแบบมาเพื่อห้ามมีแฟนอยู่ดี)
ไอดอลคนไหนมีรูปคู่กับคนอื่นที่นอกเหนือจากครอบครัวหรือคนในวงการ ไอดอลคนนั้นจะถูกลงโทษทันที
และผลที่ตามมาก็ส่งผลมากกว่าการถูกพักงาน อาจจะลดระดับขั้นเป็นเด็กฝึก ซึ่งอันนี้เป็นประกาศอย่างเป็นทางการ
แต่ลืมไปว่า สังคมก็อาจส่งผลเป็นวงกว้าง
เพราะคนในรูปที่มีรูปคู่ก็จะโดนสังคมออนไลน์กดดันด้วย และมันมาโดยที่เราไม่รู้ตัว
เอาจริง ๆ การถ่ายรูปคู่กับคนที่ซี้กัน มันก็เรื่องปกติหรือเปล่า แต่ในวงการไอดอล
ต่อให้เพื่อนคนนั้นสนิทกัน หรือคน ๆ นั้นเป็นแฟนกัน ทั้งหมดจะถูกโยนเข้า Category “แฟนคลับ” โดยอัตโนมัติ
ซึ่งตรงนี้ เพื่อนที่เป็นไอดอลก็รู้ดี บางคนรับได้ บางคนรับไม่ได้
ซึ่งบางที Official มองแฟนคลับเหมือนพวกชนชั้นที่สอง ซึ่งบางคนอยากไต่เต้าจะเป็นคน ๆ นั้นของเธอ แต่จะถูกพวกแฟนคลับจากไหนไม่รู้มา Blame และต่อว่าอย่างงง ๆ
Official บางกลุ่มไอดอล treat แฟนคลับไม่ดี มองแฟนคลับเหมือนชนชั้นที่สอง ไม่ฟังความคิดเห็นของแฟนคลับ ส่งของช้า ของไม่มีคุณภาพ แฟนคลับ (ที่บางคนรู้สึกว่า “ตูอยู่ category นี้ตั้งแต่เมื่อไรวะ เมื่อสัปดาห์ก่อนเรากับเค้าก็สนิทกัน”) ถ้าจะเข้าหาไอดอลก็ต้องมีค่าใช้จ่ายที่คนภายนอกงง ๆ คือ จับมือ ต้องเสียเงิน ถ่ายรูปคู่ ต้องเสียเงิน ต้องต่อแถว นี่มันอะไรกันนี้
ต้องทำใจ เพราะนี่คือการหาเงินของวงการไอดอล
สำหรับเหตุผลที่ไอดอลจำเป็นต้องวางตัวห่างเหินกับแฟนคลับ คือส่วนใหญ่ไอดอลยังไม่บรรลุนิติภาวะ ทางบริษัทก็ต้อง Safe น้อง ๆ ด้วยการออกกฎไม่ให้แฟนคลับเข้าถึงตัวน้อง ๆ ล้ำเส้นเกินไป
แต่อีกนัยนึง แล้วไอดอลที่อายุ 20+ ก่อนหน้านั้นก็รู้จักกัน พอเป็นไอดอล มีงาน กลับวางตัวห่างเหิน ต้องทำแบบนี้ด้วยเหรอ
ตรงนี้ไม่รู้เหมือนกัน
ดราม่าที่คนภายนอกมองแค่เปลือกนอก
หนึ่งในเหตุผลที่ไม่ชอบวงการไอดอลคือข่าวดราม่าต่าง ๆ มากมายที่กระจายตามสำนักข่าว เว็บไซต์ หรือ Social Media ต่าง ๆ ซึ่งสิ่งที่เราเห็นแบบผ่าน ๆ ตา เรามักจะเชื่อในสิ่งที่เห็น และพอเจอข่าวฉาวแบบนี้เรื่อย ๆ กลายเป็นว่า เราจำภาพพจน์ของวงไอดอลในทางลบไปแล้ว
ประมาณว่า คนนอกเวลารู้ข่าวเรื่องไอดอล ก็มาจากสื่อกระแสหลัก และคราวนี้เป็นข่าวภาพหลุดรูปคู่กับผู้ชาย ซึ่งก่อนหน้านั้นก็มีข่าวทำนองนี้
ซึ่งแน่นอนว่า บางคนยึดมั่นกับกฎ สิ่งที่เมมเบอร์ทำผิดพลาดแบบนี้ ลงโทษมันก็ถูกแล้ว
แต่คนที่ไม่ชอบ เค้าไม่ชอบเพราะระบบของไอดอล มากกว่าตัวบุคคล ซึ่งจะพูดถึงใน Part ต่อไปครับ
ระบบไอดอลที่ขายฝันทั้งเด็กสาวจะเป็นไอดอล รวมถึงแฟนคลับที่ติดตามน้อง ๆ
สิ่งที่แปลกในวงการไอดอลคือ “ไอดอลขายความพยายาม”
ในขณะที่ศิลปิน นักร้อง ดาราอื่น ๆ ขายที่ Performance ที่เวลาเผยออกมา ก็เก่ง 100%
ปฏิเสธไม่ได้ที่ค่าความนิยมของวงการไอดอล จะมีหลายปัจจัย
แต่หนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลกับเมมเบอร์เลยคือ “เงิน”
โดยเฉพาะช่วงเลือกตั้งของไอดอล ซึ่งโดยปกติ คำว่าเลือกตั้ง เป็นส่วนหนึ่งของประชาธิปไตยที่ประชาชนจะมีอำนาจเลือกได้แค่ 1 เสียง
แต่การเลือกตั้งของไอดอล มันเข้าข่าย “เศรษฐยาธิปไตย”
ฟังดูยาก ๆ ถ้าอธิบายภาษาพูดคือ “การเมืองที่คนมีเงินเป็นผู้มีอำนาจ” และคำ ๆ นี้ใช้ในแง่ลบ
เพราะการเลือกตั้งไอดอล ทุก ๆ คนไม่ได้มี 1 เสียง แต่มีกี่เสียงก็ได้ เพียงแต่สิทธิ์การลงคะแนนใช้ “เงิน” ของตัวเอง
ซึ่งก้อนเงินเยอะ ๆ ที่ลงไปในแต่ละด้อม ถามว่าลงเมมเบอร์ไหม ก็ไม่ทั้งหมด ทั้งหมดจะอยู่กับ Official ซึ่งเม็ดเงินที่เข้าออกในวงการไอดอลถือว่าเยอะ เพราะ Official เองก็ต้องลงทุนกับเงินเดือนของเมมเบอร์, พนักงานต่าง ๆ, ค่าสถานที่, ค่าจ้างครูซ้อมเต้นหรือร้องเพลง, ฯลฯ
แล้ว Official จะพยายามขายความพยายามของเมมเบอร์ของตัวเอง เพื่อตกแฟนคลับให้เงินเข้า Official เยอะ ๆ
ซึ่งกลายเป็นว่า ระบบของไอดอลภายใน มันมีการแข่งขันกันเอง
โดยปกติ เวลาพัฒนาตัวเอง ก็ต้องแข่งกับตัวเองอยู่แล้ว
แต่ความสัมพันธ์ของเมมเบอร์ มันจะแปลก ๆ หน่อย เพราะทุก ๆ คนที่เจอ เป็นทั้งเพื่อน เป็นทั้งศัตรู เป็นทั้งคู่แข่ง
อันดับหนึ่งจะเห็นผลชัดเจน และยิ่ง Social Media ผลต่าง ๆ ออกมาเป็นตัวเลขชัดเจน ทำให้การแข่งขันชัดขึ้นมากกว่าที่ควรเป็นมาก ๆ
สำหรับแฟนคลับ แอบรู้สึกสงสารแฟนคลับบางคนที่หลงไปกับวงการไอดอลจัด ๆ
ปัญหาของการตลาดไอดอล คือ ไอดอลขายตัวบุคคลของเมมเบอร์ ไม่ได้ขาย Performance ซึ่งการขายตัวบุคคลคือขายเรื่องตัวตนของเมมเบอร์ ชีวิตประจำวันของเมมเบอร์ Personality ของเมมเบอร์ ไม่ใช่ผลงานของเมมเบอร์เป็นชิ้นเป็นอัน ซึ่งการที่เราหลงใหลไปกับผลงานของแต่ละคน อย่างชอบเล่นเกม ชอบดูหนังเรื่องนั้น ชอบฟังเพลง ๆ นั้น อันนี้เป็นเรื่องปกติที่ทุกคนรับได้
แต่การขายตัวบุคคลจะมีผลเสียตรงที่คนที่เปย์เมมเบอร์คนนั้นแบบจัด ๆ จะเกิดความภาคภูมิใจว่าได้ใกล้ชิดน้องคนนั้นมาก ๆ ๆๆๆๆๆ และเกิดเป็นความผูกพัน แต่ลึก ๆ ของแฟนคลับคนนั้นยังคิดเสมอว่า น้องคนนั้นมันกลายเป็นความฝัน มันเป็นไปไม่ได้หรอก
การที่ซื้อบัตรจับมือและพูดคุยในเวลาที่จำกัด มันคือความสัมพันธ์ที่ดีมาก แต่มันได้เวลาแค่นี้จริง ๆ
ใช่ครับ วงการไอดอลขายฝัน
ฝันสำหรับเมมเบอร์ คือ การอยู่ Tier แรก และได้เงินเยอะ ๆ
ฝันสำหรับแฟนคลับ คือ การได้ชิดเมมเบอร์คนนั้น ได้เดทกับคน ๆ นั้น หรือเป็นแฟนกับคน ๆ นั้น
หารู้ไม่ว่า Cockblocker คือ “Official”
จึงไม่แปลกที่เมมเบอร์บางคนไม่อยากจะอยู่วงการไอดอลไปนาน ๆ ตัวเองก็ต้องรู้จักโต
อย่างน้อยวงการที่ต่อยอดได้ เค้าก็สามารถถ่ายคู่กับแฟนคลับได้โดยไม่ต้องมีเงื่อนไขใด ๆ
ใครจะเข้ามาหา มาถ่าย ก็ได้ ไม่เหมือนช่วงที่เป็นไอดอล
Official บางกลุ่มไอดอลมองแฟนคลับคือชนชั้นที่ 2
ตรงนี้ก็เห็นใจ Official เพราะยิ่งแฟนคลับเยอะ ก็ต้องแสดงความเด็ดขาดมาก ๆ เพื่อความปลอดภัยของเมมเบอร์
ใน Paragraph แรก ผมเกริ่นนำไปว่า ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน คนสนิท หรือใครก็ตามที่ไม่ได้อยู่ในวงการบันเทิงหรือไม่เคยร่วมงานกัน หากได้เป็นไอดอล เพื่อนเหล่านั้นจะถูกโยนเข้า Category “แฟนคลับ” ทันที
ซึ่งกฎของแฟนคลับ คือ ห้ามถ่ายรูปคู่กับไอดอลที่เคยเป็นเพื่อนมาก่อน, ไม่สามารถคุยกันได้, SNS ต้องใช้ของ Official ซึ่งสิ่งเหล่านี้ Official เป็นคนวาง
ทำให้มิตรภาพถูกตัดขาดทันที ส่วนเพื่อนที่โดนโยนเข้าหมวดหมู่แฟนคลับ หากจะหาเพื่อนที่เป็นไอดอล ต้องเสียเงินเข้าไปจับมือในงาน
และ Official ของวงไอดอลบางวง Treat แฟนคลับไม่ดี ทั้งบริการที่แย่ มีแต่ความเป็นทางการ ไม่สนิทสนม ซึ่งเป็นสิทธิ์ของแฟนคลับอยู่แล้ว
ซึ่งตรงนี้ก็ต้องรับมือซะหน่อย
แฟนคลับนิสัยไม่ดี
นี่ก็อีกหนึ่งเหตุผลที่ไม่พูดไม่ได้
และปัญหาคือ กลุ่มแฟนคลับที่ทำพฤติกรรมแปลก ๆ ไม่ว่าจะคุกคามเมมเบอร์ ป้ายสีกลุ่มแอนตี้ การก่อดราม่า ฯลฯ ล้วนสร้างความเสื่อมเสียให้กับวงไอดอลพอสมควร
และเกิดผลกระทบ “ดราม่าที่คนภายนอกมองแค่เปลือกนอก” ตามมา
Official เองไม่มีอำนาจคอยควบคุม ลงโทษแฟนคลับเหมือนกับเมมเบอร์ของตัวเองได้ เพราะแฟนคลับคือคนนอก
อย่างมากก็การดำเนินคดี แจ้งความกับตำรวจ ซึ่งหลาย ๆ เคสของตำรวจยังไม่ดำเนินสักที
ซึ่งก็ต้องพึ่งการลงโทษทางสังคมผ่าน Social Media ซึ่งมันไม่ต่างจาก “ศาลเตี้ย”
แล้วขึ้นชื่อว่าศาลเตี้ย มันก็ยิ่งส่งผลทางลบกับวงไอดอล
กลายเป็นว่าขายดราม่าซะงั้น
ซึ่งเรื่องแฟนคลับ Psycho มีทุกวงการ
แต่สำหรับวงการไอดอล
แฟนคลับ Psycho จะน่ากลัว เราจะเจอพฤติกรรมแปลก ๆ อยู่เรื่อย
ซึ่งเด็กสาวคนไหนที่จะมาในวงการนี้
ต้องเตรียมตัวรับมือกับแฟนคลับสาย Psycho ให้ดี ๆ
สรุป
ทุกวงการมีทั้งด้านดีและด้านมืด
แต่การเหมารวมว่าวงนั้นไม่ดีไปหมด หรือวงนั้นดีหมด ก็ไม่ใช่
สิ่งที่น่าจะเป็นจริง คือ
เรามักจะเกลียดสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพราะมันกระทบกับตัวเรา
*ภาพทุกภาพ หยิบมาจาก Unsplash เว็บสต็อกรูปใช้ฟรี
Leave a Reply