พฤติกรรมการใช้งาน social media ของคนในยุคนี้แตกต่างจากเมื่อก่อนพอสมควร หรืออาจจะย้อนกลับไปช่วงก่อนที่ Facebook หรือ Instagram จะมีบทบาทในยุคนี้ครับ
ก่อนที่ Facebook กับ Instagram จะใช้งานได้จริงจังในประเทศไทย คนไทยก็ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเข้าไปพูดคุยในเว็บบอร์ดหรือหาข้อมูลอะไรต่าง ๆ ในเว็บบอร์ด ซึ่งในเว็บบอร์ดยุคนั้นคนแต่ละคนก็จะใช้นามแฝงแล้วก็ใช้รูปที่ไม่ใช่รูปของตัวเองเพราะหลาย ๆ คนเขาทำกันแบบนี้ และการตั้งชื่อในเว็บบอร์ดก็จะตั้งชื่อได้โดยอิสระ เพียงแต่ว่าถ้าเป็นชื่อที่มันขาดจารีตประเพณีหรือชื่อที่มันสุ่มเสี่ยงผิดกฎหมาย หรือหยาบคาย ทาง admin ก็จะทำการลบหรือแบนผู้ใช้งานทันที
ซึ่งคนที่มีอำนาจสูงสุดของเว็บบอร์ดก็คือแอดมินหรือเจ้าของเว็บบอร์ดนั้น ดังนั้นเวลาเราโพสต์อะไรที่มันขัดแย้งหรือสิ่งที่เราอยากจะนำเสนอให้มันตรง ๆ จะทำได้ยากมากในเว็บบอร์ด ถ้าเราทำ admin ก็อาจจะลบแล้วอาจจะลงโทษเราโดยไม่ให้โพสหรือไม่สามารถใช้งานได้ในระยะเวลาหนึ่ง
แต่การมาของ Facebook หรือพวก Hi5 และ social media อื่น ๆ ทำให้มีอยู่ยุคหนึ่งการแสดงออกความเป็นตัวของตัวเองกำลังฮิตมากใน social media (โดยการเปิดเผยตัวเองมากกว่าเก็บให้มันเป็นเรื่องส่วนตัว)
แต่สุดท้ายการทำแบบนั้นมันทำได้เฉพาะคนบางคนที่มีฐานะทางสังคมหรือฐานะทาหน้าตาที่ดีกว่าคนทั่วไปอยู่ดี แล้วถ้าเป็นคนธรรมดาทั่วไป การจะมาถ่ายเซลฟี่แล้วมีคนกด like เยอะ ๆ หรือไปที่ต่าง ๆ แล้วได้กินอาหารอะไรอร่อย ๆ บ่อย ๆเป็นเรื่องที่ยากมากๆเหมือนกับว่าคุณจะต้องมีทั้งฐานะดีหน้าตาดีการแต่งตัวดีรสนิยมในการใช้ชีวิตที่ดีจนกระทั่งเราภูมิใจที่จะโชว์มันออกมาให้คนอื่นนับถือตัวเรา
แต่คนมันธรรมดามันไม่ได้แบบนี้ไง คนธรรมดาทั่วไปการทำงานก็จะเป็นพนักงานประจำใช้ชีวิตแบบทำงาน 8:00 น หรือ 9:00 น แล้วก็พอเลิกงานก็ประมาณช่วง 17:00 น ถึง 18:00 น สักพักก็ขึ้นรถไฟฟ้าหรือขึ้นรถโดยสารสาธารณะแล้วกลับบ้านแล้วก็ดูละครอะไรต่าง ๆ ซึ่งก็คือชีวิตของคนทั่วไปที่ไม่ได้ดูเด่นอะไรเลย แล้วการใช้งาน social media ของเขาอาจจะคุยกับเพื่อนอะไรนิด ๆ หน่อย ๆ บ้างแล้วไปดูพวกข่าวคราวอะไรต่าง ๆ แต่บางครั้งก็มีความคิดอยากจะแสดงความคิดเห็นตรงจุดนั้นออกมาโดยที่ไม่ต้องรู้ก็ได้เพราะว่ามันไม่มีเรื่องราวอะไรก็ต้องให้คนอื่นมารู้
ในปัจจุบันผู้คนที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตอายุเริ่มน้อยลงเรื่อย ๆ และในช่วงคน generation z ก็เริ่มใช้งาน social media กลายเป็นเรื่องปกติ และในเมื่อกลายเป็นเรื่องปกติดังนั้นมันไม่จำเป็นต้องมาโชว์ตัวหรือโชว์ชื่อจริงของเราว่าเราเป็นใครมาจากไหนเห็นแต่สิ่งที่ไม่เหมือนในยุค webboard คือการแสดงความคิดเห็นของผู้ใช้แต่ละคนสามารถเป็นสาธารณะได้
จึงไม่แปลกที่ผู้ใช้งาน social media สมัยนี้มักจะปิดบังตัวตนชื่อและหน้าตา แต่ต้องการพูดสิ่งต่าง ๆ หรือเรื่องราวในเหตุการณ์นั้นให้มันตรงใจกับใครหลาย ๆ คนที่กำลังสนใจเรื่องนั้นอยู่ในโลกออนไลน์ ไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมพวกความคิดเห็นต่าง ๆ มันต้อง ๆ แซบ ๆ มันต้องคัน ๆ ถึงขนาดนี้โดยไม่ต้องคำนึงถึงเรื่องจรรยาบรรณของสื่ออะไรเลย
อย่าลืมว่าทุกคนที่มีโซเชียลมีเดียคือทุก ๆ คนมีสื่อ แต่ไม่ได้หมายความว่าสื่อนั้นที่มาจากคนอื่นมันต้องมีจรรยาบรรณเสมอไปเพราะในสภาพสังคมไทยจรรยาบรรณมันเปรียบเสมือนสิ่งที่โดนคัดกรองอีกทีนึงจากคนที่อยู่สูงกว่า บางทีคนที่จะดูความคิดเห็นอะไรต่างๆใน social media เขาแค่ต้องการความสะใจแค่นั้นเอง แต่ความสะใจนั้นมันจะต้องมาพร้อมกับเหตุผล มาพร้อมกับตรรก ะมาพร้อมกับหลักฐานหรือเปล่าก็อีกเรื่องนึง
สาเหตุที่มคนส่วนใหญ่ใน social media ต้องการปิดบังตัวตน แต่ต้องการให้ความคิดเห็นของตัวเองเป็นที่สาธารณะ เอาเข้าจริง ๆ พวก comment ที่เป็นสาธารณะต่าง ๆ เขาก็ไม่ได้อยากให้มันเป็นสาธารณะจ๋าขนาดนั้น เพียงแต่มันมาจากความเก็บกดและต้องการหาที่ระบายอย่าง social media และการระบาย เราไม่จำเป็นต้องมานั่งคิดว่าคนฟังภายนอกจะรู้สึกไหม มีแค่ปิดบังตัวตนแล้วก็พูดไปแค่นั้นจบ แต่ปัญหาคือเวลาเราโพสแล้วคนเข้ามา comment บ่อย ๆ ตัว Notification จะแจ้งเตือนเราเสมอให้เราติดอยู่กับสิ่งที่เราแสดงความคิดเห็นและในเมื่อจำนวนยอดไลค์หรือยอด reaction มันเยอะทำให้เรารู้สึกภูมิใจในความคิดเห็นของตัวเอง จะได้มีความภูมิใจในตัวเองมากขึ้น และในเมื่อมีความภูมิใจในตัวเองมากขึ้นทำให้รู้สึกว่าสิ่งที่เราทำไปมันดีแล้วนะ แล้วก็ทำต่อไปเรื่อย ๆ ให้คนเข้ามาติดตามความคิดเห็นของตัวเรา แต่เรื่องราวส่วนตัว ก็เก็บให้เป็นเรื่องส่วนตัวแบบนั้น ไม่ต้องพูดอะไรในโลกออนไลน์
เราจะสังเกตเห็นเด็กๆใน Gen z เล่น Twitter กันส่วนหนึ่งเพราะว่าพ่อแม่ผู้ปกครองและคนใหญ่คนโตที่เราก็ไม่รู้ว่าเป็นใครเขาจะเน้นเล่นใน Facebook สามารถส่องได้ใน Facebook ซึ่งเป็น social media ที่คุณจำเป็นต้องใส่ชื่อจริงแล้วก็เรื่องราวประวัติส่วนตัวจริง ๆ ทำให้ใน Facebook เวลาเราจะโพสต์อะไรที่มันตรงมากเกินไปอาจจะส่งผลกระทบกับการงานอาชีพและชีวิตเพราะมันสามารถตรวจสอบการใช้งานได้ในภายหลัง
ผมไม่ชอบ Facebook เวลาเล่นสตอรี่คือคนที่เขาติดตามเราแต่ไม่ได้เป็นเพื่อนเราเราจะไม่รู้ว่าคนที่เข้ามาดูในสตอรีเขาเป็นใคร ก็จะพยายามหนีออกจาก Facebook แต่ยังมีเพื่อนบางคนยังเล่น Facebook อยู่แล้วก็การแชร์เรื่องราวต่างๆใน Facebook ยังทำได้ดีกว่าในโซเชียลมีเดียอื่น ๆ ถึงแม้ว่ามันจะเน่าก็ตามที แต่ปัญหาคือพวกเพื่อน ๆ เขาไม่เล่นทวิตเตอร์กันสุดท้ายก็ต้องมาเล่นใน Facebook แหม่ วงจรอุบาทว์จริง ๆ ต่อให้หนีไป Instagram ก็ต้องมีอะไรกับ Facebook อีกที
อีกประเด็นหนึ่งในการใช้งาน social media ในยุคนี้คือพฤติกรรม on-demand หรือเสพข้อมูลตามความต้องการของตัวเองเริ่มชัดเจนมากขึ้น ในทวิตเตอร์หรือ YouTube ทำ social media แบบออนดีมานด์ได้ดีมาก ๆ
ในทวิตเตอร์ถ้าเราเข้าไปแล้วเจอ Hashtag ที่รู้สึกว่ามันไม่ใช่สิ่งที่เราต้องการ เราก็ปิดทวิตเตอร์ทิ้งก็จบ ใน YouTube ถ้าเราเจอแต่คลิปที่ดูแล้วไม่น่าดู หรือว่ามีเนื้อหาไม่ค่อยน่าสนใจในตอนนั้น ก็ปิด YouTube หรือไปดูวีดีโออื่น ๆ ที่มันขึ้นในหน้าแรกที่มีทาง YouTube กันแนะนำอีกทีว่าอันไหนมันเป็นวีดีโอที่น่าดู แต่ว่าถ้าไม่มีอะไรน่าดูก็ปิดจะได้กลับไปทำอะไรอย่างอื่นได้
ในขณะที่ Facebook เป็น social media ไม่ได้เป็น on-demand แบบ 100% เวลาเราเลื่อนดูโพสต์ในนิวฟีดแล้วก็จะเห็นสิ่งที่คาดเดาไม่ได้ว่ามันเกิดอะไรขึ้นใน News Feed นี้มีอะไรบ้างและที่น่าเป็นห่วงคือเรื่องของ filter bubble ใน Facebook ที่ทุกวันนี้ก็ยังแก้ไขไม่ได้ เพราะว่า Facebook จะพยายามเอาสิ่งที่เราสนใจเอามา ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนหรือเพจ บางทีเวลาเราโพสต์อะไรไปแล้วคนอื่นไม่เห็นเพราะว่าเพื่อนคนนั้นเขาไม่สนใจเรา เขาไม่เคยมานั่งกดไลค์หรืออะไรเราเลยมันก็ทำให้เกิด filter bubble โดยง่ายๆผมเบื่ออย่างนึงใน Facebook คือโฆษณาใน Facebook ที่รู้สึกมันเยอะไปหรือเปล่า เยอะไม่พอยังเอาโฆษณาซ้ำ ๆ มาให้เราดูตั้งแต่ตอนเช้า กลางวัน เย็น อารมณ์เหมือนกันฟังเพลงป๊อปในวิทยุเมื่อ 10 ถึง 15 ปีก่อนซึ่งยุคนั้นเป็นยุคที่ MP3 กำลังมาแต่ว่ามันยังเป็นของแพงและฟุ่มเฟือยอยู่
ลองนั่งคิดดู สิ่งที่คนสาธารณะทั่วไปในโลกออนไลน์ที่แชร์เรื่องราวดี ๆ ของเขาไม่ว่าจะเป็นการเดินทางที่แปลกใหม่หรือประสบการณ์ชีวิตที่มันไม่เหมือนชาวบ้านเขาหรือได้สิทธิพิเศษเข้าไปดูในงานนั้น ๆ หรือไปเที่ยวคอนเสิร์ตหรือไปทานข้าวที่รู้สึกอร่อย เราจะเห็นในมุมนั้นแค่มุมเดียวเท่านั้น หรือเอาง่าย ๆ พวกเจ้าของ account ที่โชว์ความหวานของการมีแฟน บางทีเราอาจจะไม่เห็นมุมที่เขาทะเลาะกัน เราอาจไม่เห็นมุมที่เขานั่งเสียใจ และมีคนมาปลอบเราเห็นแต่ส่วนดีใน social media สิ่งนั่นแหละคือความส่วนตัว บางทีสิ่งที่มันเป็นสาธารณะในโลกออนไลน์ที่เขาโชว์มันคือสาธารณะจริง ๆ แต่นอกนั้นน่าจะประมาณ 90% มันคือความส่วนตัว
ดังนั้น อย่าเชื่อทุกสิ่งที่เห็นในโลกออนไลน์
Leave a Reply